The gateway to business Nakhon si thammarat เราคือผู้นำคุณสู่ธุรกิจนครศรีธรรมราช
เสาร์, 27 เม.ย. 2024
 
 

Pic of month

หนังสือพิมพ์เมืองนคร

No images

สภาพอากาศปัจจุบัน

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย th@wang   
วันอังคารที่ 28 เมษายน 2009 เวลา 15:41 น.
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ

 

ความสำคัญต่อชุมชน

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทั้งในเมืองนครศรีธรรมราช และ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะมีความสำคัญดังนี้

  1. เป็นที่ตั้งขององค์พระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลมามนัสการพระ บรมธาตุเจดีย์อยู่มิได้ขาดสาย
  2. มีโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมทั้งสิ้น เช่น พระวิหารหลวง วิหารพระม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม วิหารพระแอด วิหารทับเกษตร วิหารคดหรือพระระเบียง วิหารธรรมศาลา วิหารโพธิ์พระเดิม เจดีย์รอยองค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธบาทจำลอง พระศรีมหาโพธิ์ พระพวย พระบรมราชา พระบุญมาก พระพุทธรูปปาง ประทานอภัย พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช โดยเฉพาะพระวิหารหลวงนั้นเป็นอาคารที่มีความใหญ่ โตและงดงามมากนับเป็นพระอุโบสถที่กว้างใหญ่ที่สุดในภาคใต้
  3. เป็นแหล่งเริ่มต้นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่อง ด้วยองค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นที่รวมแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการนำ ทรัพย์สินเงินทองมาถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารก็ได้ใช้วิหารเขียน เป็นที่เก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วยทอง เงิน นาก สำริด เช่น พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้น ไม้ทอง ถ้วยชาม และใช้วิหารโพธิ์ลังกาเก็บโบราณวัตถุ เช่นศิลาจารึก เครื่องปั้นดินเผา พระ พุทธรูป หีบศพเจ้าพระยานคร พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นต้น จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ของวัดไป เมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวร- มหาวิหารเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อว่า ?ศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถาน? ซึ่งต่อมากรมศิลปากรก็ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัด นครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  4. เป็นแหล่งเริ่มต้นของหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้มาตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราชในวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้สถานที่ที่วิหารสามจอม เมื่อมีหนังสือเพิ่มจึงได้ย้ายไปที่วิหาร ธรรมศาลา วิหารทับเกษตรและวิหารคด ตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ไปจัดสร้างหอสมุด แห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช
  5. เป็นแหล่งกำเนิดประเพณีสำคัญ ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ประเพณี แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ส่วนประเพณีสวดด้านในปัจจุบันได้สูญหายไป ในวัน สำคัญทางพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันมาทำบุญในวัดพระมหาธาตุเป็นจำนวน มาก
  6. ใช้เป็นสถานที่ประกอบราชพิธีและพิธีที่สำคัญในอดีต เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมือง การถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีแรกนาขวัญ พิธีโล้ชิงช้า

 

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

โบราณวัตถุที่สำคัญในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารดังนี้

1.พระบรมธาตุเจดีย์ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงระฆังคว่ำ(โอคว่ำ) ปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆดังนี้

ส่วนประกอบของพระบรมธาตุเจดีย์

  1. ความสูงของพื้นถึงยอด สูง 37 วา
  2. ฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 3 ศอก
  3. ฐานยาวด้านละ ยาว18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว
  4. ยอดหุ้มด้วยทองคำหนัก 800 ชั่ง (600 กิโลกรัม)
  5. ส่วนที่หุ้มทองคำ สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ
  6. ปล้องไฉน 52 ปล้อง
  7. หน้ากระดานปล้องไฉนมีพระเวียน 8 องค์
  8. บัวคว่ำ บัวหงาย หุ้มด้วยทองคำแผ่น สูง6 วา 2 ศอก 1 คืบ
  9. ทองรูปพรรณหลายชนิด เช่น แหวน จำนวนมากกำไล ต่างหู ผูกแขวนบนปลียอดทองคำ
  10. บนยอดสุดมีบาตรน้ำมนต์ 1 ใบ
  11. รอบองค์เจดีย์ระฆังคว่ำ มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน เท่ากัน กว้าง/ยาว 12 วา 2 ศอก
  12. รอบกำแพงแก้วมีใบเสมา และรั้วเหล็กรอบกำแพงแก้ว ฉัตร บังสูรย์ และกระดิ่งเป็นระฆัง ห้อย
  13. ฐานพระบรมธาตุเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกจากฐาน 22 หัว

2. วิหารพระทรงม้า (พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์)

ตั้งอยู่ติดกับพระบรมธาตุเจดีย์ทางด้านทิศเหนือความกว้าง 5 วา 10 นิ้ว ยาว 15 วา 3 ศอก สูง 7 วา ฝาผนังภายในวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธองค์ทรงม้า เสด็จออกบรรพชา ลักษณะเป็นศิลปะอยุธยาตอนกลาง โบราณวัตถุภายในวิหารพระม้ามีดังนี้

ลักษณะโบราณวัตถุ จำนวน

1. พระพุทธรูปสำคัญ คือรูปพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ 3 องค์ พระโมคลาน และพระสารีบุตร

2. บันไดตรงกลางวิหาร ทางขึ้นไปยังลานประทักษิณ22 ขั้น

3. ยักษ์อยู่ตรงหัวบันได ด้านซ้ายคือท้าวเวกุราช ด้านขวา 2 ตน คือท้าวเวชสุวรรณ

4. พญาครุฑ อยู่ข้างบันได ด้านซ้าย คือท้าววิรุฬหก2 ตัว ด้านขวา คือท้าววิรุฬปักษ์

5. สิงห์ อยู่ราวข้างบันได ด้ายซ้ายและขวา 6 ตัว

6. พระพุทธสิหิงค์จำลอง อยู่ข้างราวบันไดเหนือสิงห์ 2 องค์ ทั้งข้างซ้ายและขวา

7. เทพ อยู่เหนือสุดราวบันได ด้ายซ้ายคือท้าวจัตุคาม 2 องค์ ด้านขวา คือท้าวรามเทพ

8. ประตูไม้ เปิดสู่ลานประทักษิณ ที่บานประตูมีภาพ 1 ประตู แกะสลักทั้งสองบาน ด้านซ้ายเป็นรูปพระพรหม ด้านขวาเป็นรูปพระอินทร์

9. ภาพปูนปั้นเป็นภาพเทวดาและสัตว์ในเทพนิยายอยู่ผนัง สองข้างบันได -

10. พญานาค อยู่ด้านหน้าของบันได ทั้งซ้ายและขวา 2 ตัว คือท้าวภุชงค์

11. พระพุทธรูป อยู่ฐานพระบรมธาตุเจดีย์ รูปประทับยืน 3 องค์ คือพระร่วงโรจน์ฤทธิ์อีก 2 องค์คือพระพุทธรูปปางลีลา และปางขัดสมาธิ

 

3. วิหารสามจอม

วิหารสามจอมอยู่ทางด้านตะวันออกของพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในวิหารเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้สร้าง พระบรมธาตุเจดีย์ด้านหลังของวิหารมีซุ้มสามช่องบรรจุพระพุทธรูปปางมารวิชัย และเป็นที่เก็บ อิฐเชื้อพระวงศ์และเจ้านายในเชื้อสายของพระเจ้ากรุงธนบุรีตากสินมหาราช และซุ้มประตูเป็น ภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติตอนทรงตัดเมาฬีเพื่อออกผนวช

4. วิหารทับเกษตร หรือพระระเบียง หรือวิหารคด

เป็นวิหารอยู่รอบฐานบริเวณภายในขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีประตู 2 ประตู ประตูด้านหน้า คือประตูเหมรังศรี ข้างประตูมีสิงห์โตหินตัวผู้และตัวเมีย หน้าจั่วซุ้มประตู ประดับแก้วสีเป็นรูปครุฑและนาคยึดเกี่ยวกัน ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนั่งทั้งสี่ด้านของระเบียง จำนวน 137 องค์ เป็นฝีมือช่างอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ทุกด้านของวิหารมีธรรมาสน์ตั้งอยู่เพื่อ แสดงธรรมในสมัยก่อนมีชาวบ้านมาสวดหนังสือก่อนพระเทศน์เป็นประจำ แต่ปัจจุบันประเพณี สวดหนังสือ (สวดด้าน) ได้สูญหายไป

5. วิหารหลวง

ตั้งอยู่บริเวณนอกเขตพระระเบียง ทางด้านใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ สร้างใน สมัยสุโขทัย ได้มีการปฏิสังขรณ์มาเป็นระยะ ๆ จวบจนในปัจจุบัน สถาปัตยกรรมของวิหารหลวงเป็นแบบสุโขทัย มีความกว้างใหญ่และงดงาม มาก เสารอบนอก 40 ต้น เสาภายใน 24 ต้น ห้องระหว่างเสา 13 ต้นปลายเสาแบนราบเข้าหากัน แบบอยุธยา ทำให้ดูอ่อนช้อยงดงามมาก ด้านหน้าของวิหารแกะสลักไม้รูปพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ เป็นภาพแกะสลักที่วิจิตรงดงามมาก ด้านหลังของวิหารแกะสลักเป็นพระนารายณ์ทรง ครุฑ เพดานเขียนลายไทยปิดทองมีลายดารกาเป็นแฉกงดงามมาก หลังคามีช่อฟ้าและใบระกา พระประธานเรียกว่า พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยการก่อ อิฐถือปูนลงรักปิดทองสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ด้านข้างมีพระสาวกซ้ายและขวา คือพระโมคคั ลานะ และพระสารีบุตร และมีพระพุทธรูปยืนอีกหลายองค์

เส้นทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

การเดินทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ใช้ 2 เส้นทางดังนี้

1.คนที่เดินทางมาจากทิศใต้ จากสี่แยกหัวถนน ตรงเข้าถนนราชดำเนิน จนถึงสี่ แยกประตูชัย ตรงไปจะถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อยู่ทางด้านซ้ายมือ

2.หากเดินทางมาจากทิศเหนือ จากกองทัพภาคที่ 4 เข้าถนนราชดำเนิน บริเวณ หน้าสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านสี่แยกท่าวัง ศาลากลางจังหวัด หอนาฬิกา ตรงไป ทางด้านขวามือ จะถึงบริเวณหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหา

แก้ไขล่าสุด ( วันพุธที่ 29 เมษายน 2009 เวลา 13:13 น. )